สถานบริการในอดีตจนถึงปัจจุบันนั้นมีหลายประเภทตั้งอยู่กระจัดกระจายไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดปัญญาความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนที่อยู่ใกล้เคียง และก่อให้เกิดปัญหายาเสพติด และปัญหาสังคมอื่นๆ เพื่อเป็นการปกป้องคุ้มครองสิทธิ และควบคุมผลกระทบของการตั้งสถานบริการแก่ประชาชน จึงได้ตรา พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509 เพื่อควบคุมคุ้มครองและป้องกันปัญหาสังคมต่างๆขึ้น โดยได้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2509 และมีผลใช้บังคับ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2509 ซึ่งได้ปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เหมาะสมกับสังคมในยุคปัจจุบัน ปัจจุบันได้มีการแก้ไขล่าสุด ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2546)ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2547 และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2547 พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509 ได้ให้ความหมายของสถานบริการไว้ในมาตรา 3 ซึ่งหมายความว่า เป็นสถานที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการ โดยหวังประโยชน์ทางการค้า ดังต่อไปนี้
สถานเต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง ประเภทที่มีและประเภทที่ไม่มีคู่บริการ ได้แก่ ไนต์คลับ บาร์ ภัตตาคาร เป็นต้น ซึ่งสถานบริการประเภทนี้ จะจัดให้มีสุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย หรือ จัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิงด้วยก็ได้สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายและบริการ โดยมีผู้บำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกค้า ได้แก่ ภัตตาคาร ที่มีหญิงบำเรอนั่งโต๊ะปรนนิบัติลูกค้า หรือโรงน้ำชาที่มีเตียงพักผ่อนหลับนอน และมีบริการนวดให้ลูกค้า เป็นต้นสถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัว ซึ่งมีผู้บริการให้แก่ลูกค้า ได้แก่ สถานอาบน้ำ นวด อบตัว ซึ่งมี ผู้บริการนวดลูกค้า เว้นแต่สถานที่ซึ่งผู้บริการได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทยประเภทการนวดไทยตามกฎหมายด้วยการประกอบโคศิลปะ หรือได้รับการยกเว้น ไม่ต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทยประเภทการนวดไทยตามกฎหมายดังกล่าว หรือสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวยที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจะต้องมีลักษณะของสถานที่ การบริการหรือผู้ให้บริการเป็นไปตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบเพื่อรองรับให้เป็นไปตามมาตรฐานนั้นด้วยก็ได้หรือสถานที่อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง